Repository landing page

We are not able to resolve this OAI Identifier to the repository landing page. If you are the repository manager for this record, please head to the Dashboard and adjust the settings.

ความต้องการมีบุตรในอนาคต: หลักฐานเชิงประจักษ์จากสตรีที่สมรสในประเทศไทย (FUTURE DESIRE FOR CHILDREN: EMPIRICAL EVIDENCES FROM MARRIED WOMEN IN THAILAND)

Abstract

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และแบบแผนความต้องการมีบุตรในอนาคตของสตรีที่สมรสในประเทศไทย รวมไปจนถึงทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะและภูมิหลังของสตรีที่สมรสกับความต้องการมีบุตรในอนาคตโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ จากการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรี พ.ศ. 2555 (MICS4) จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ สตรี อายุ 15–49 ปี ที่สมรส จำนวนทั้งสิ้น 15,661 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติไคสแควร์ในการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะและภูมิหลังของสตรีที่สมรสกับความต้องการมีบุตรในอนาคต จากการศึกษาสถานการณ์ความต้องการมีบุตรในอนาคตในภาพรวม พบว่า สตรีที่สมรสมีความต้องการมีบุตรในอนาคต เพียงร้อยละ 18.8 และยังพบว่า สตรีที่สมรสที่อยู่ในกลุ่มแม่วัยใส อายุ 15–19 ปี มีความต้องการมีบุตรในอนาคต คิดเป็นสัดส่วนสูงที่สุดถึงร้อยละ 44.1 เมื่อทำการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะและภูมิหลังของสตรีที่สมรสกับความต้องการมีบุตรในอนาคต ด้วยสถิติไคสแควร์ พบว่า สตรีที่สมรสที่มีลักษณะและภูมิหลัง อันได้แก่ อายุ อายุแรกสมรส การตั้งครรภ์ในปัจจุบัน ประสบการณ์การมีบุตรที่เสียชีวิต จำนวนบุตรที่มีชีวิต ภูมิภาค สถานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือน และระดับการศึกษาสูงสุดที่แตกต่างกัน มีความต้องการมีบุตรในอนาคตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้เมื่อทำการศึกษาแบบแผนความต้องการมีบุตรในอนาคต พบว่า สตรีที่สมรสที่มีอายุ 25–29 ปี มีความต้องการมีบุตรคนแรก และมีความต้องการมีบุตรคนที่สอง คิดเป็นสัดส่วนสูงที่สุด (ร้อยละ 74.9 และ 50.5 ตามลำดับ) และสตรีที่สมรสที่มีอายุ 20–24 ปี มีความต้องการมีบุตรคนที่สาม และมีความต้องการมีบุตรคนที่สี่ (หรือมากกว่า) คิดเป็นสัดส่วนสูงที่สุด (ร้อยละ 16.8 และ 9.8 ตามลำดับ)คำสำคัญ: ความต้องการมีบุตร  สตรีที่สมรสThis study aimed to examine situation and patterns of desire for children in the future and test association between characteristic factors and desire for children among married women in Thailand. Data were drawn from the 2012 Multiple Indicator Cluster Survey (MICS4) which was conducted by the National Statistical Office of Thailand. The total sample size is 15,661 participants and confined to married women in reproductive-age (age 15-49). This data were analyzed by using descriptive statistics and analysis technique in Cross-tabulation and Chi-square test. The overall situation showed that only 18.8 percent of married women expressed desire for children in the future, with increased desire among teenage women aged 15–19 (44.1 percent). Chi-square analysis result revealed that factors had statistically significant associated with desire for children in the future included age, age at first marriage, current pregnancy, loss of child experience, number of children still living, region, wealth status of household, and education. In addition, the results of patterns of desire for children in the future indicated that married women aged 25–29 had the highest proportion of desire for first child and second child (74.9 percent and 50.5 percent respectively), and married women aged 20–24 had the highest proportion of desire for third child and fourth (or more) child (16.8 percent and 9.8 percent respectively).Keywords: Desire for Children, Married Wome

Similar works

Full text

thumbnail-image

Srinakharinwirot University: SWU e-Journals System

redirect
Last time updated on 17/10/2019

Having an issue?

Is data on this page outdated, violates copyrights or anything else? Report the problem now and we will take corresponding actions after reviewing your request.